เมื่อปี พ.ศ.2524 ซึ่งเป็นปีคนพิการสากล คณะกรรมการมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2524 ได้มีมติให้ขยายงานไปสู่ภูมิภาค และเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นพื้นที่เป้าหมายของการตั้งศูนย์ฯ ภาคเหนือ และในวันที่ 20 มกราคม 2524
มูลนิธิฯ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณา การตั้งศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วย คุณหญิงเฟี่อง ชลิตอาภรณ์ ประธานมูลนิธิฯ ในขณะนั้น โดยมีศาสตราจารย์คุณหญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษา เป็นประธานอนุกรรมการ และนางดรุณี ประมวญบรรณการ เป็นเลขานุการ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ ได้ดำเนินการติดต่อกับนายแพทย์มนู แมนมนตรี เทศมนตรีฝ่ายงานสาธารณสุขเทศบาลนครเชียงใหม่ ผู้เคยปฏิบัติการสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนมาบ้างแล้ว และนางบุพพัณห์ นิมานเหมินทร์ ประธานคณะกรรมการประสานงานส่วนภูมิภาค ภาค 5 เชียงใหม่ ของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และได้รับการสนับสนุนให้จัดบริการสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อน ขึ้นโดยความเห็นชอบจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดำเนินงานเปิด “ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่” ที่ซึ่งเป็นศูนย์ฯ ของมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในส่วนภูมิภาคเป็นแห่งแรก ในวันที่ 31 มกราคม 2524 ณ ศูนย์สาธารณสุขท่าสะต๋อยของ เทศบาลนครเชียงใหม่ ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อจาก จังหวัดเชียงใหม่ เป็น ภาคเหนือ เพื่อความเหมาะสม
นายแพทย์มนู แมนมนตรี รับเป็นประธานกรรมการ ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือ นายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ เป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการอีก 6 คน โดยมีหัวหน้ากองการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นเลขานุการ การดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้ยึดถือระเบียบของมูลนิธิฯ เป็นหลักและความต้องการของท้องถิ่น และคณะกรรมการศูนย์ฯ ได้ดำเนินการรณรงค์หาทุน ในวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2524 ได้รับเงินจำนวน 109,105.25.- บาท จากผู้มีจิตศรัทธาบริจาค เนื่องในวันตรุษจีน และงานมหกรรมไม้ดอกไม้ประดับของจังหวัดเชียงใหม่
ต่อมาศูนย์ฯ ได้ดำเนินงานอบรมอาสาสมัคร รุ่นที่ 1 เพื่อหาบุคลากรมาช่วยงานของศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2524 มีผู้สมัครเข้าร่วมการอบรมจำนวน 92 คน และรุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2525 จำนวน 60 คน รวมปัจจุบันมีอาสาสมัครรวม 152 คน ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2527 และจัดอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2527 อาสาสมัครเหล่านี้ได้ให้การสนับสนุนงานศูนย์ฯ เช่นได้ออกเยี่ยม ครอบครัวและให้การสงเคราะห์ด้วยเครื่องอุปโภคและบริโภคแก่บุคคลปัญญาอ่อนและครอบครัว
คณะกรรมการของศูนย์ฯ ได้แบ่งการบริหารงานของศูนย์ฯ เป็น 4 ฝ่าย คือฝ่ายวิชาการ ฝ่ายอาสาสมัคร ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายหาทุน
ฝ่ายวิชาการได้จัดการอบรมนักศึกษาวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ที่จะออกฝึกสอนในโรงเรียนประถมศึกษาในชนบทให้มีความรู้พอที่จะสงเคราะห์ทางพัฒนาการเรียนรู้ ของนักเรียนปัญญาอ่อนได้ เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2526 นอกจากนี้ได้ส่งกรรมการของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนกาวิละอนุกูลไปร่วมสัมมนาครูวิชาการ ของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ 15 อำเภอ ในวันที่ 7 มิถุนายน – 3 สิงหาคม 2527 เรื่อง “เทคนิคและวิธีการซ่อมเสริมสำหรับนักเรียน เรียนช้าและปัญญาอ่อน”
พ.ศ.2525
นายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ เป็นประธานศูนย์ฯ คนที่ 2 (สมัยปี พ.ศ.2525-2530) เนื่องจากนายแพทย์มนู แมนมนตรี ขอลาออก คณะกรรมการมูลนิธิฯ และคณะกรรมการศูนย์ฯ ได้พิจารณาร่วมกันเห็นได้ควรเชิญ นายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ ซึ่งเป็นรองประธานคนที่ 1 เป็นประธานศูนย์ฯ ต่อไป และย้ายไปที่ทำการศูนย์ฯ จากศูนย์บริการสาธารณสุขท่าสะต๋อย มาอยู่ ณ ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์เนตรรามา ของนายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ เป็นสำนักงานชั่วคราว ที่ถนนทิพย์เนตร ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2525 ได้มีการปรับปรุงคณะกรรมการศูนย์ฯใหม่ โดยเชิญคุณกรองทอง ชุติมา เป็นประธานคนที่ 1 คุณหญิงสวาท รัตนวราห เป็นรองประธานคนที่ 2 และเชิญที่ปรึกษาเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง
เนื่องจากศูนย์ฯยังไม่มีสำนักงานและสถานที่ให้บริการสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนเป็นการถาวร คณะกรรมการมูลนิธิฯ และคณะกรรมการศูนย์ฯ จึงได้ปรึกษาหารือเพื่อหาทุนในการก่อสร้างสำนักงานศูนย์ฯ ลงทุนดำเนินงาน โดยไปหาหลวงปู่แหวน สุจินโณ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว เพื่อขออนุญาตจัดทำรูปเหมือนของท่านเป็นหินอ่อน สังเคราะห์ พร้อมตราประจำองค์ท่าน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนนำไปบูชา หาทุนจัดทำอาคารและที่ทำการศูนย์ฯ โดยมูลนิธิฯ เป็นผู้สำรองเงินค่าใช้จ่ายในการจัดทำให้ก่อน โดยนายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ เป็นผู้ประสานงานจัดหาช่างผู้จัดทำ เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว มูลนิธิฯ และศูนย์ฯ เป็นผู้เผยแพร่เพื่อจัดหาทุนร่วมกัน รายได้ส่วนหนึ่งได้ใช้เป็นทุนดำเนินงานของศูนย์ฯ มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นทุนสำรองและส่วนหนึ่งใช้ในการจัดทำสำนักงานศูนย์ฯ
ลักษณะรูปเหมือนหลวงปู่แหวน เป็นหินอ่อน เป็นหินอ่อนสังเคราะห์ ลักษณะยืนสูง 27 นิ้ว และรูปเหมือนสัมฤทธิ์ ได้จัดทำจำนวน 1,000 องค์ หินอ่อนสังเคราะห์ จำนวน.............องค์ นอกจากนั้น ยังได้จัดทำตราประจำองค์รูปเหมือนจำนวน 100,000 ตรา เวลา 15.39 น . ณ วัดดอยแม่ปั๋ง ศาสตราจารย์วารี หะวานนท์ ประธานมูลนิธิฯ คณะกรรมการศูนย์ฯ ได้ร่วมในพิธีปลุกเศกด้วย
รายได้จาก พุทธศาสนิกชน รับรูปหลวงปู่แหวนไปบูชาได้จัดซื้อตึกแถว 2 ชั้น 2 คูหา เลขที่ 170-172 ถนนทิพย์เนตร ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 700,000 บาท (เจ็ดแสนบาทถ้วน) ของนายสมพงษ์ เตชะสุขสันต์
และทำพิธีเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2527 เวลา 11.49 น. โดยนายพิศาล มูลศาสตร์สาธร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด ภายหลังได้ย้ายศูนย์ฯ จากห้างหุ้นส่วนทิพย์เนตรรามา มาอยู่ยังสำนักงานถาวร ปัจจุบันที่ 413 ม.4 (ในหมู่บ้านน้ำผึ้งวิลเลจ )ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ในเดือนมีนาคม 2535
ศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงโดยจัดให้มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการเงิน และฝ่ายปฏิคมขึ้น พร้อมทั้งรับเด็กปัญญาอ่อน เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพจำนวน 10 คน ระดับสติปัญญา 20-45 มีครูวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาพิเศษ 1 คน พี่เลี้ยง 1 คน และคนงาน 1 คน โดยมูลนิธิฯ จัดสรรงบประมาณให้
ต่อมาศูนย์ฯ ได้ทำการสำรวจเด็กปัญญาอ่อนทั้งในเขตเทศบาลและเขตรอบนอก 10 ตำบล และพิจารณาให้การสงเคราะห์ตามความจำเป็นแต่ละราย นอกจากนั้นศูนย์ฯ ยังได้จัดอบรมอาสาสมัครขึ้น 2 รุ่นในปี 2524 และ 2525 รวมทั้งสิ้น 152 คน
คุณหญิงวนิดา พูนศิริวงศ์ ประธานศูนย์ฯ คนที่ 3 (สมัยปี พ.ศ. 2530-2531) เนื่องจาก
นายอินทร์สม ไชยซาววงศ์ ขอลาออก มติที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ และกรรมการมูลนิธิฯ ที่ได้ประชุมเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ณ โรงแรมเชียงอินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ ให้เรียนเชิญ คุณหญิงวนิดา พูนศิริวงศ์ ภรรยาท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานศูนย์ฯ คนที่ 3 มีคุณหญิงสวาท รัตนวราห เป็นรอง
ประธาน การดำเนินงานของศูนย์ฯ ได้ก้าวหน้าเป็นลำดับ ได้ปรับปรุงฝ่ายงานคณะกรรมการและขยายการให้บริการสงเคราะห์ และเผยแพร่ความรู้ในด้านการป้องกันปัญหา โดยมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อน ร่วมจัดอบรมอาสาสมัครประชาสงเคราะห์ในหลายจังหวัด ร่วมกับกองบริการชุมชน กรมประชาสงเคราะห์
พ.ศ.2531
รองศาสตราจารย์ สุภาพ เดชะรินทร์ ประธานศูนย์ฯ คนที่ 4 (สมัยปี พ.ศ.2531-2534) เนื่องจากคุณหญิงวนิดา พูนศิริวงศ์ ขอลาออก เพื่อติดตามสามีซึ่งมารับตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์
คณะกรรมการศูนย์ฯ และคณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้พิจารณาเห็นควรขอเชิญ รองศาสตราจารย์ สุภาพ เดชะรินทร์ เป็นประธานศูนย์ฯ คนที่ 4 โดยมี
นางสุรัตน์ ตันตรานนท์ เป็นรองประธานคนที่ 1
เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล เป็นรองประธานคนที่ 2
คุณหญิงสวาท รัตนวราห เป็นรองประธานคนที่ 3
ได้เริ่มจัดทำโครงการปัญญาภิบาล และขยายงานด้านการ ให้บริการสงเคราะห์กว้างขวางขึ้น เป็นผลให้งานของศูนย์ฯ ได้รับความสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธาเพิ่มขึ้น
การดำเนินงานยังคงมีสำนักงานอยู่ ณ ที่เดิม คณะกรรมการศูนย์ฯ ได้เตรียมหารือกับทางมูลนิธิฯ เพื่อขยายสถานที่ทำการเพื่อให้บริการบุคลากรปัญญาอ่อน ได้กว้างขวางขึ้นโดยเริ่มจัดหาที่ดินโดยหาผู้บริจาค
นางสบสุข เจือศรีกุล ได้บริจาคที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน ในหมู่บ้านน้ำผึ้งวิลเลจ ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เพื่อก่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ โดย ดร.ไพรัตน์ เดชะรินทร์ ได้เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2534 ซึ่งจะเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และสถานที่ให้บริการสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนและดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนฯ และศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
พ.ศ.2534
รองศาสตราจารย์สุภาพ เดชะรินทร์ ประสบอุบัติเหตุ ถึงแก่กรรมคณะกรรมการมูลนิธิฯ และกรรมการศูนย์ฯ ได้หารือกันมีมติให้เชิญ นางมานิดา ยุวบูรณ์ เป็นประธานศูนย์ฯ จดทะเบียนเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิฯ (ประธานศูนย์ฯ จะจดทะเบียนเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิฯ เพื่อศูนย์ฯ จะได้ดำเนินงานตามตราสารของมูลนิธิฯ) รองประธานทั้ง 3 ยังคงดำรงตำแหน่งตามเดิม
ได้ย้ายสำนักงานจากถนนทิพย์เนตร มาอยู่ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา เลขที่ 413 ม.4 ในหมู่บ้านน้ำผึ้งวิลเลจ ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โทร.(053) 321011 เมื่อเดือนมกราคม 2535
การจัดหาที่ดินจัดหาทุนและก่อสร้าง ได้เริ่มในปี 2533 ในสมัยรองศาสตราจารย์สุภาพ เดชะรินทร์ เป็นประธานฯ และต่อเนื่องในสมัย นางมานิดา ยุวบูรณ์ เป็นประธานฯ เข้ารับตำแหน่งประธานศูนย์ฯ ระหว่าง พ.ศ.2534-2536 จนเป็นผลสำเร็จโดยได้รับความสนับสนุนจากมูลนิธิฯ และผู้มีจิตศรัทธาสมทบทุนก่อสร้างอาคารและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานการก่อสร้างอาคารทั้ง 2 สมัย

อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ สมเด็จพระนางเจ้าฯ องค์อุปถัมภ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 เวลา 17.20 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานจัดงาน ค่าก่อสร้างอาคารและครุภัณฑ์ รวมเป็นเงิน 5,143,855.-บาท (ห้าล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสามพันแปดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)
การดำเนินงานได้รับเด็กเพิ่ม บรรจุครูและพี่เลี้ยงเพิ่มขึ้น จัดให้มีฝ่ายจัดการรับผิดชอบ สำนักงานและขยายบริการสงเคราะห์ในด้านการสำรวจการ สงเคราะห์ งานคลีนิควันศุกร์ งานวิชาการ งานพัฒนาบุคลากร งานส่งเสริมบทบาทอาสาสมัคร งานส่งเสริมอาชีพบุคคลปัญญาอ่อนและครอบครัวงานนันทนาการ และงานสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฏร์ประจำหมู่บ้าน
การเงินของศูนย์ฯ
1. มูลนิธิฯ จัดสรรงบประมาณให้เป็นเงินเดือนครู เจ้าหน้าที่สำนักงาน ค่าพาหนะ ฝ่ายจัดการ
ประจำเดือน
1.1 ทุนสำรองจ่ายในการจัดทำรูปเหมือนหลวงปู่แหวน เพื่อหาทุนจัดซื้ออาคารสำนักงานและเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
1.2 ค่าก่อสร้างอาคารส่วนหนึ่ง
1.3 โครงการส่วนหนึ่งศูนย์ฯ ขอรับทุนจากมูลนิธิฯ ประจำปี
1.4 การพัฒนาบุคลากร
1.5 การส่งกรรมการไปประชุม ดูงานต่างจังหวัด
1.6 ยานพาหนะ
1.7 งบประมาณโครงการการที่มูลนิธิฯ จัดทำให้ ได้แก่
- โครงการอบรมอาสาสมัคร ประชาสงเคราะห์ร่วมกับกองบริการชุมชน กรมประชาสงเคราะห์
- โครงการจัดการอบรมอาสาสมัครของศูนย์ฯ
- โครงการส่งเสริมป้องกันการขาดสารอาหารในเด็กปัญญาอ่อนฐานะยากจน (มอบงบประมาณให้)
- โครงการสนับสนุนศูนย์สงเคราะห์ราษฏรประจำหมู่บ้าน
2. โครงการที่ศูนย์ฯ เสนอขอจากกรมประชาสงเคราะห์
3. เงินบริจาค จากผู้มีจิตศรัทธา หน่วยราชการและองค์การกุศลต่าง ๆ
รายชื่อกรรมการก่อตั้ง
ศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนภาคเหนือ
ฝ่ายมูลนิธิฯ
แต่งตั้งวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2524
1. คุณหญิงเฟี่อง ชลิตอาภรณ์ ที่ปรึกษา
2. คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร ที่ปรึกษา
3.ศาสตราจารย์คุณหญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมการ
4.คุณหญิงสวลี ชลวิจารณ์ อนุกรรมการ
5.คุณหญิงเอื้อนทิพย์ เปรมโยธิน อนุกรรมการ
6.นางสิริพร รัตนชื่น อนุกรรมการ